หลวงพ่อนาคปรก วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง อุบลราชธานี

หลวงพ่อนาคปรก เป็น พระพุทธรูปนาคปรก หินทราย ศิลปะยุคทวารวดี ณ วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง อุบลราชธานี,หลวงพ่อนาคปรก เป็น พระพุทธรูปนาคปรกหินทราย ศิลปะยุคทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๕ อายุประมาณ ๑,๓๐๐ ปี เป็น พระพุทธรูปนาคปรกที่แปลกไปจากที่พบในประเทศไทยทั้งหมด เนื่องจาก พระพุทธรูปางนาคปรกโดยทั่วไป มักจะมี พญานาค ตัวเดียวขนดเป็นฐานชุกชี แล้วแผ่พังพานออกเป็น ๗ หัว เหนือพระเศียรพระพุทธรูป

หลวงพ่อนาคปรก พญานาค 7 เศียร ศิลปะยุคทวารวดี ณ วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง อุบลราชธานี

สำหรับ พระพุทธรูปนาคปรก วัดปากน้ำ มีพญานาค ๗ ตัว ทอดขนดกอดเกี้ยวรวมเป็น หนึ่ง แล้วแผ่พังพาน ๗ หัว เหนือพระเศียรพระพุทธ
ปฏิมากร เรียกว่า พญานาค ๗ ตัว ๗ เศียร แผ่พังพานเป็นกำบังพระพุทธเจ้าหลวงพ่อนาคปรก เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดป่าพระพิฆเณศวร์ เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ชาวบ้านจึงย้ายหมู่บ้านหนีน้ำไปสร้างหมู่บ้านแห่งใหม่ขึ้น ซึ่งก็คือบ้านปากน้ำ ในปัจจุบัน และได้อัญเชิญหลวงพ่อนาคปรกขึ้นมาด้วย การพบพระพุทธรูปนาคปรก หินทราย ศิลปะยุคทวารวดี บริเวณวัดป่าพิฆเณศวร์ บ้านปากน้ำ สอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ตามลุ่มแม่น้ำมูล ที่มีอายุราว ๑๒–๑๓ ศตวรรษขึ้นมา แหล่งโบราณคดียุคประวัติศาสตร์รุ่นเก่าที่สุดพบมากบริเวณวัดภูเขาแก้ว บ้านสะพือเหนือ ในเขตอำเภอพิบูลมังสาหาร. หลวงพ่อนาคปรก ณ วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง อุบลราชธานี จากหลักฐานข้างต้น เชื่อได้ว่า บริเวณชุมชนโบราณบุ่งสระพัง เป็นที่ชุมนุมการคนมาคมที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของอีสาน เป็นผลทำให้ศิลปวัฒนธรรมสมัยก่อนเมืองพระนคร และสมัยเริ่มแรกเมืองพระนคร ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ลงมาจนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ แพร่กระจายออกไปในภูมิภาคนี้ ซึ่งการอพยพผู้คนเข้ามาตั้งชุมชนอีสาน โดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่มน้ำมูล เริ่มมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยพบหลักฐานขวานหินขัดแบบมีบ่า ซึ่งเป็นเครื่องมือของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ สำหรับวัฒนธรรมยุคทวารวดี มีพื้นฐานพุทธศาสนาจากอินเดีย มีศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองอยู่ที่ภาคกลางของไทย เริ่มเข้ามามีความสำคัญในอีสาน ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๕ ก่อตัวขึ้นภายหลังอาณาจักรเจนละเสื่อมอำนาจลง และ ต่อมา พระพุทธศาสนายุคทวารวดีก็ได้รับความนิยมแพร่หลายเกือบทั่วทั้งอีสานอย่างรวดเร็ว

สถานที่สำคัญ วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง