พระครูวิโรจน์รัตโนบล รอด นันตโร หรือ หลวงปู่ดีโลด

หลวงปู่รอด นนฺตโร พระครูวิโรจน์รัตโนบล, หลวงปู่ ท่าน พระครูวิโรจน์รัตโนบล หรือ หลวงปู่รอด นามเดิม บุญรอด นามสกุล สมจิตต์ เกิดที่จังหวัดอุบลราชธานี ท่านอุปสมบท ณ ที่วัดมณีวนาราม (ป่าน้อย) ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่วัดทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี และอยู่จำพรรษาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดนี้จนกาลถึงแก่มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ปฏิปทาและจริยาสมบัติ หลวงปู่เป็นพระภิกษุที่ทรงคุณธรรมอันประเสริฐยิ่ง มีเมตตาจิตสูง มีวิริยะอุตสาหะและมีขันติธรรมอย่างแรงกล้า มีจิตใจสงบเยือกเย็น มีความสุขุมคัมภีรภาพมาก ปกตินิสัย ท่านเป็นผู้มีใจโอบอ้อมอารี มีเมตตากรุณาต่อชนทุกชั้นไม่ว่ายากดีมีจน มีปกติโอภาปราศรัยด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ผู้มีโอกาสได้เข้าใกล้ชิดท่านทุกคนรู้จักเคารพและมีศัทธาเลื่อมใสอิ่มเอิบในท่านโดยไม่มีวันจืดจาง ท่านมีปกติสอนคนให้เป็นคนดี และสร้างสิ่งเลวร้ายให้กลายเป็นดี ท่านมีปกติมองทุกสิ่งทุกอย่างในทางที่ดีเสมอ การกระทำและคำพูดของท่านจะเป็นไปเพื่อความดีและมีคำว่าดีติดคำพูดของท่านอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งประชาชนทั้งหลายได้ร้องเรียกท่านด้วยความเคารพเลื่อมใสเพิ่มขึ้นอีกว่า “ท่านพระครูดีโลด” ทั้งนี้ก็เพราะไม่ว่าใครจะทำอย่างใดและพูดอะไรกับท่าน ท่านก็ว่าดีทั้งนั้น ไม่เคยขัดใจใครเลย. หลวงปู่รอด นนฺตโร ความเป็นผู้มีบุญญาภินิหาร เป็นธรรมเนียมประจำที่ถือกันมาตั้งแต่ครั้งดึกดำบรรพ์ของชาวนครพนมจนกระทั่งถึงกาลปัจจุบันนั้นมีอยู่ว่า พระธาตุพนม นั้นมีความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เกรงกลัวและเป็นที่เรารถบูชาของชาวบ้านชาวเมืองอยู่เป็นอย่างยิ่ง เพราะถือกันว่ามีเทพาอารักษ์มีมเหศักดิ์คุ้มครองพิทักษ์รักษา ผู้ใด ๆ จะกล้ำกลายเข้าไปใกล้องค์พระธาตุโดยการขาดสัมมาคารวะต่อองค์พระธาตุมิได้ จะ ได้รับโทษทันตาเห็น แม้แต่ต้นไม้ต้นหญ้าซึ่งขึ้นอยู่ที่องค์พระธาตุนั้น ก็จะไม่มีผู้ใดกล้าแตะต้องได้ ครั้งต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๔ ท่านพระครู สีทา วัดบูรพา ท่านอาจารย์มั่น และท่านอาจารย์หนู พร้อมด้วยคณะได้เดินธุรงค์มาถึงพระธาตุพนมแห่งนี้ได้เห็นความเลื่อมโทรมขององค์พระธาตุแล้ว ก็เกิดความสังเวชสลดใจใคร่ที่จะซ่อมแซม จึงได้แนะนำทายกทายิกาชาวเมืองธาตุพนมให้ลงไปอาราธนาหลวงปู่ท่านพระครูวิโรจน์ฯ วัดทุ่งศรีเมือง ขึ้นมาเป็นหัวหน้าดำเนินการบูรณะซ่อมแซม องค์พระธาตุพนม หลวงปู่ท่านพระครูวิโรจน์ ฯ ก็ยินดีรับอาราธนาขึ้นมายัง พระธาตุพนม ตามประสงค์พอท่านขึ้นไปถึง แล้วท่านก็ได้ให้มีการประชุมหัวหน้าของชาวบ้านชาวเมืองในการที่จะดำเนินการบูรณะซ่อมแซมชาวบ้านบอกว่าให้ท่านพาปูลานพระธาตุเพียงอย่างเดียวพอได้เป็นที่กราบไหว้บูชาก็พอแล้ว ไม่ยอมให้แตะต้ององค์พระธาตุโดยเด็ดขาด ท่านก็บอกชาวบ้านไปว่าถ้าท่านไม่ได้ไปบูรณะซ่อมแซมตั้งแต่พื้นดินยอดองค์พระธาตุแล้วท่านจะไม่ทำ ชาวบ้านคัดค้านโดยประการต่าง ๆ หาว่าท่านไม่ได้ตั้งอยู่ในศีลธรรม เพราะจะไปรื้อเจดีย์ ตัดโพธิ์ศรี ลอดหนังพระเจ้าเป็นบาปหนัก และกล่าวว่าถ้าปล่อยให้ท่านทำตามที่ท่านต้องการแล้ว เทพาอารักษ์ที่พิทักษ์รักษาองค์พระธาตุ ก็จะโกรธแค้นทำให้ชาวบ้านชาวเมืองเดือดร้อนต่าง ๆ นานา ท่านก็ได้ให้เหตุผลโดยประการต่าง ๆ ชาวบ้านชาวเมืองก็ไม่ยอม ท่านจึงแจ้งให้ทราบว่าถ้าไม่ยอมให้ท่านทำ ท่านก็จะกลับจังหวัดอุบลฯ ชาวบ้านก็เรียนท่านว่าจะกลับก็ตามใจ แล้วก็พากันเลิกประชุมกลับบ้านไป

ในขณะที่ชาวบ้านกำลังกลับจากประชุมที่วัดนั้น บางคนก็ยังกลับไม่ถึงบ้านของตนด้วยซ้ำไป ปรากฏว่ามีหญิงคนหนึ่งชื่อ นางเทียม ได้ถูกเจ้าเข้าสิงตัว ให้บ่นว่าดุด่าอาฆาตมาดโทษหัวหน้าชาวบ้านผู้ขัดขวางคัดค้านไม่ให้หลวงปู่ท่านพระครูวิโรจน์ ฯ ซ่อมแซมพระธาตุ เช่นว่า

อ้ายคนใดบังอาจขัดขวางเจ้ากู มิให้ท่านซ่อมแซมพระธาตุ กูจะหักคอมัน ท่านจะทำก็ปล่อยให้ท่านทำเป็นไร สูจะไปขัดขืนท่านทำไม แม้กูเองก็ยังเกรงกลัวพระบารมีของท่า

ดังนี้เป็นต้น ฝ่ายชาวบ้านมีเฒ่ามหาเสนีเป็นอาทิ เมื่อเห็นเป็นเหตุการณ์วิปริตไปเช่นนั้นก็พากันเกิดความสดุ้งตกใจกลัวว่าจะมีภัยอันตรายมาถึง จึงได้พากันรีบกลับวัด ไปกราบไหว้วิงวอนขอขมาลาโทษท่านหลวงปู่และกราบนิมนต์ท่านไว้มิให้กลับไปเมืองอุบลฯ พร้อมทั้งอาราธนาให้ท่านเป็นผู้นำกระทำการทุกอย่างสุดแต่ท่านจะประสงค์พวกตนก็จะปฏิบัติตามทุกสิ่งทุกอย่าง ท่านก็รับนิมนต์อยู่ปฏิบัติงานต่อไปจนเป็นที่สำเร็จเรียบร้อยทุกประการ ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงบุญญาภินิหารอันสูงส่งของท่านหลวงปู่ได้เป็นอย่างดียิ่ง ความเป็นผู้ทรงคุณธรรมทางด้านความศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับเวทมนต์ และคาถาอาคมต่าง ๆ ย่อมเป็นที่ทราบกันเป็นอย่างดีและกว้างขวางในสมัยนั้นว่า หลวงปู่ท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล เป็นอาจารย์ผู้มีเวทมนต์และ คาถาอันศักดิ์สิทธิ์และแก่กล้าสามารถที่จะกำจัดปัดเป่าความทุกข์ร้อนของประชาชนผู้ที่ถูกคุณไสยถูกใส่ถูกทำถูกผีเข้าเจ้าสิงต่าง ๆ ได้อย่างดียิ่ง ท่านสามารถใล่ปัดรังควานและเสนียดบ้านเสนียดเมืองให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข บ้านใดเมืองใดเกิดเดือดร้อนมีเหตุภัยต่าง ๆ บ้านเมืองนั้นจะนิมนต์ท่านไปทำพิธีปัดเสนียดจัญไรระงับความเดือดร้อนและเหตุเภทภัยต่าง ๆ เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขสืบไปอยู่เป็นประจำ นอกจากนี้ท่านยังสามารถรักษาผู้เจ็บไข้ได้ทุกข์ต่าง ๆ ให้หายได้เป็นอย่างดี เช่นคนที่แขนหักขาหักกระดูกแตกเหล่านี้ ท่านก็สามารถทำน้ำมนต์ให้ทาที่เจ็บที่หักให้ติดต่อกันหายสนิทดีได้ด้วยอำนาจบุญญาภินิหาร และด้วยเวทมนต์คาถาอาคมอันศักดิ์สิทธิ์ของท่านเอง วัตถุมงคลที่ท่านสร้างขึ้นมี

1. เหรียญ 2. ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ 3. ตะกรุด

ทั้งหมดนี้ได้เคยแจกจ่ายแก่ทหารที่ไปสมรภูมิสงครามอินโดจีนและเชียงตุงเชียงคาน ได้เห็นอภินิหารมาแล้ว คณะฝ่ายจัดสร้างเหรียญมี พระครูกิตติยาภรณ์โกศล เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานีได้กราบเรียนขออนุญาตจากท่าน เจ้าคุณพระวิโรจน์รัตโนบล เจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมือง และ พระเดชพระคุณท่าน เจ้าคุณพระเทพมงคลเมธี เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี คณะกรรมการได้ตระหนักถึงความสำคัญแห่งบุญญาภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่ซึ่งมีอยู่โดยประการต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้ จึงจัดสร้างเหรียญหลวงปู่ชุดที่ ๓ ขึ้นและได้นำเข้าในพิธีปลุกเสกครั้งใหญ่ที่ วัดมหาวนาราม (ป่าใหญ่) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลฯ เหรียญหลวงปู่คณะกรรมการได้จัดสร้างขึ้นในครั้งนี้ คณะกรรมการได้มอบเหรียญให้ พระครูใบฎีกา บุญจันทร์ จตูตสลฺโล เจ้าอาวาสวัดบ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบล ฯ จำนวน ๑๐,๐๐๐ เหรียญ เพื่อให้ประชาชนนำไปสักการบูชาหาทุนดำเนินการก่อสร้าง พระอุโบสถ วัดบ้านปากน้ำ โดยเหตุที่ วัดบ้านปากน้ำ แห่งนี้ หลวงปู่ท่านพระครูวิโรจน์ ฯ ท่านได้เคยนำชาวบ้านบุกเบิกขยายเนื้อที่วัดและบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้งหลายหน และท่านเคยไปพักแรมที่วัดบ่อยครั้งทั้งนี้อาศัยเหตุที่ได้มีชาวบ้านบากน้ำ (ปากน้ำ บุ่งสระพัง) ไปบวชเป็นลูกศิษย์ อยู่กับท่านหลายคน ท่านจึงได้มีเมตตานุเคราะห์รับอาราธนามาพาชาวบ้านบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้ด้วยดีในระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่เหรียญบูชาดังกล่าวนี้ ท่าน พระครูใบฎีกาบุญจันทร์ ( พระมงคลธรรมวัฒน์ ) ได้นำไปถวาย หลวงปู่ผาง วัดอุดคงคารีรีเขตต์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นพระอาจารย์กัมัฏฐานผู้มีชื่อเสียงโด่งดังท่างเสน่ห์มหานิยมและอยู่ยงคงกระพันเป็นที่รู้จักกันดีของประชาชน เพื่อให้ท่านทำพิธีปลุกเสกซ้ำให้อีก และหลวงปู่ผางท่านก็ได้มีเมตตานุเคราะห์ปลุกเสกให้ด้วยดีสมเจตนารมณ์ของผู้สร้างทุกประการ

เหรียญพระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด) วัดทุ่งศรีเมือง รุ่นแรก สร้างเมื่อปี พ.ศ.2483 ถือเป็นสุดยอด เหรียญยอดเหรียญ พระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด) วัดทุ่งศรีเมือง รุ่นแรก สร้างเมื่อปี พ.ศ.2483 นิยมอันดับหนึ่งของจังหวัดอุบล ผู้สร้างคือ หลวงวิจิตรวาทการ ในฐานะที่องค์ท่านเป็นผู้บูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม หรือบางท่านสันนิษฐานว่าอาจเป็นขุนบุรัสการ ผู้แทนราษฏรจังหวัดอุบลสมัยนั้น มีอย่ด้วยกัน 2 พิมพ์คือ

  1. พิมพ์นิยมพิมพ์ใหญ่ มี 2 แบบคือ หลังยันต์ และหลังจาร
  2. พิมพ์ต้อ

ด้านความนิยมถือเป็นเหรียญหลักของภาคอีสาน จะเป็นรองแค่เหรียญพระอาจารย์ฝั้น รุ่นแรกเท่านั้น นับว่าเป็นความภาคภูมิใจของชาวอุบลเป็นอย่างยิ่ง นอกจากเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกแล้ว ยังมี เหรียญพิมพ์พระธาตุพนม ที่สร้างในคราวเดียวกัน นอกจากนั้นยังมีตะกรุด, ผ้ายันต์, เสื้อยันต์ที่แจกให้ทหารไปรบในสงครามอินโดจีน หลังจากที่หลวงปู่รอดมรณะภาพเมื่อปีพ.ศ.2485 ได้มีหลายวัดในจังหวัดอุบลจัดสร้างเหรียญรูปเหมือนท่านเพื่อระลึกบูชาท่าน

เหรียญ พระครูวิโรจน์รัตนโนบล (หลวงปู่รอด ทนฺตโร ) รุ่น สร้าง อุโบสถ วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง อุบลราชธานี

 

พระบูรพาจารย์ วัดปากน้ำ ชุมชน บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง

เฟสบุ๊ค วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง : https://www.facebook.com/watpaknumubon/