พระอาจารย์ มหามังกร ปัญญาวโร ” หลวงตาน้อย “

พระอาจารย์มหามังกร ปัญญาวโร ( หลวงตาน้อย ) นอกจากท่านจะเป็นพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติธรรม ปฎิบัติสมควร ที่ถือว่าเป็นอััตคุณโดยเฉพาะท่านในเรื่องการเผยแผ่พระุทธศาสนาในรูปแบบ “เทศนา” ถือว่าท่านเป็นพระนักเทศน์ยุคใหม่ เทศนาธรรมะ สามารถเข้าถึงจิตใจสาธุชนได้อย่างไม่อยากนัก ท่านยังเป็นพระผู้ เมตตา ยึดมั่น ในด้านการปฎิบัติ กัมมัฐฐาน แห่งชุมชน หมู่บ้าน บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง อุบลราชธานี. พระอาจารย์ พระอาจารย์ มหามังกร ปัญญาวโร " หลวงตาน้อย "มหามังกร ปญฺญาวโร ท่านเป็นที่ เคารพรัก และ ศรัทธา อย่างยิ่ง ของ ชาวบ้านปากน้ำ แห่งนี้. พระอาจารย์ มหามังกร ปัญญาวโร ท่าน เป็นชาวจังหวัดสุรินทร์ เคยพำนักศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ที่ วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพฯ เป็นผู้มีบทบาทที่สำคัญใน ด้านการศึกษาและ การเผยแผ่ของวัด มีความเคารพท่าน เจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ เป็นการส่วนตัว มาตั้งแต่ครั้งเป็น สามเณร ภายหลัง คณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย จังหวัดอุบลราชธานี ได้ขอให้ท่านมาช่วยงานด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ที่ วัดสุปัฏนาราม ท่านปฏิบัติหน้าที่สนองงานคณะสงฆ์อยู่ระยะหนึ่ง แต่เนื่องจากท่านมีอุปนิสัยทางด้าน พระกรรมฐาน และ ประกอบกับมีปัญหาด้านสุขภาพ ต่อมา ท่านจึงขอปลีกตัวมาพำนักอยู่ที่ วัดป่าพระพิฆเณศวร์ เพื่อเจริญกรรมฐาน และได้กลายเป็นกำลังที่สำคัญด้านการเผยแผ่ของ ท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ ในโอกาสต่อมา บทประพันธ์ คร่าว ๆ ของ พระอาจารย์ มหามังกร ปัญญาวโร

” แก่เจ็บตาย คนทั้งหลาย จะต้องพบ
จะหลีกหลบ ซ่อนเร้น เป็นไร้ผล
จะแสนสวย มั่งมี หรือยากจน
ในที่สุด ทุกคน จะต้องตาย “

” วัวควายเอย เจ้าต่ำซ้ำ เป็นสัตว์
คราวิบัติ เนื้อเขาหนัง ยังขายได้
แต่มนุษย์ เมื่อวิบัติ คือตายไป
เอาไปขาย ครึ่งสตางค์ ยังว่าแพง “

ชีวประวัติ พระอาจารมหามังกร ปัญญาวโร (เจือจันทร์) โดยละเอียด
“ชีวิต ผลงาน คติธรรม พระมหามังกร ปัญญาวโร (เจือจันทร์)
พระสุปฏิปันโนผู้อุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาตลอด ชีวิตชาติภูมิ “

พระมหามังกร ปัญญาวโร (เจือจันทร์) เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2494 หมู่บ้านแตล ตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เป็นบุตรของ คุณพ่อบุญมี เจือจันทร์ คุณแม่บุญเลี้ยง เจือจันทร์ มีพี่น้องทั้งหมด 6 คน
1. นางบุญมา เจือจันทร์
3. นายสมพร เจือจันทร์
4. พระมหามังกร ปัญญาวโร
5. นางปิ่นแก้ว เจือจันทร์
6. นายทองดี เจือจันทร์

บรรพชา
พระอาจารย์มหามังกร ปัญญาวโร บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2506 มีพระครูอรุณธรรมพิพัฒน์ วัดพรมศิลาแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัด
สุรินทร์ ต่อมาญัตติเป็นสามเณรธรรมยุต เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2508 มีพระราชสารสุธี (นัด ทับทอง) เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ อุโบสถวัดเลียบ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ได้จำพรรษาอยู่วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

อุปสมบท
พระอาจารย์ มหามังกร ปัญญาวโร อุปสมบทเมื่อ อายุ 21 ปี วันที่ 12 พฤษภาคม 2515 ณ วัดนรนาถสุนทริการาม ตำบลวัดสามพระยา อำเภอพระนคร กรุงเทพมหานคร โดย มีพระธรรมวราภรณ์(สมเด็จพระมหามุนีวงศ์) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิชิตศาสนภาร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูปลัดธรรมนีติวัฒน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

  • พ.ศ. 2510-2515 จำพรรษา ณวัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2516-2519 จำพรรษา ณวัดสุปัฏนารามวรวิหาร อุบลราชธานี
  • พ.ศ. 2520 จำพรรษา ณ วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2521-2522 จำพรรษา ณ วัดสัมมาชัญญาวาส มีนบุรี กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2523 จำพรรษา ณ วัดสิริกมลาวาส กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2524-2528 จำพรรษา ณ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อุบลราชธานี
  • พ.ศ. 2529-2531 จำพรรษา ณ วัดป่าพระพิฆเณศวร์ บ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อุบลราชธานี
  • พ.ศ.2532 จำพรรษา ณ วัดอ่าวหมู จันทบุรี
  • พ.ศ. 2533-2542 จำพรรษา ณ วัดภูหินดัง อุดรธานี
  • พ.ศ.2543 จำพรรษา ณ วัดวรรณวราราม สุรินทร์
  • พ.ศ. 2544-2547 จำพรรษา ณ วัดภูหินดัง อุดรธานี

วิทยฐานะ
1. พ.ศ. 2506 สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแตล อำเภอศีขรภูมิ
จังหวัดสุรินทร์
2. พ.ศ. 2509 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดสุปัฏนาราวรวิหาร
อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
3.พ.ศ. 2517 สอบไล่ได้ ป.ธ.5 สำนักเรียนเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี
4. การศึกษาพิเศษ เก่งด้านภาษาอังกฤษ
5. ความชำนาญ เป็นพระธรรมกถึก/นวกรรม

งานด้านการศึกษา

  • พ.ศ. 2514 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกนักธรรมบาลี ประจำสำนักเรียนวัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ.2514 เป็นเลขาการศูนย์อบรมศีลธรรมและวัฒนธรรม
  • พ.ศ.2516 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรมบาลี วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
  • พ.ศ.2516 เป็นหัวหน้าคณะวิทยากรประจำศูนย์พุทธเยาวชน ยุวพุทธิก สมาคม อุบลราชธานี

งานด้านการปกครอง

  • เป็นเลขานุการเจ้าคณะภาค 8 (ธรรมยุต)
  • เป็นเลขานุการศูนย์อบรมศีลธรรมและวัฒนธรรม วัดนรนาถสุนทริการาม
  • เป็นเลขานุการ เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี (ธรรมยุต)
  • เป็นเลขานุการเจ้าสำนักเรียนวัดสุปัฏนารามวรวิหาร อุบลราชธานี
  • เป็นพระปริยัตินิเทศประจำจังหวัดอุบลราชธานี
  • เป็นหัวหน้าคณะวิทยากรประจำศูนย์พุทธเยาวชน ยุวพุทธิกสมาคมอุบลราชธานี
  • เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง

ผลงานทางการศึกษา/ อบรมลูกศิษย์ อาทิ

  • พระวิชัยมุนี เจ้าคณะจังหวัดอำนาจเจริญ (ธรรมยุต) วัดสำราญนิเวศน์ ตำบลบุ่ง จังหวัดอำนาจเจริญ
  • พระครูบุญสถิตย์ เจ้าคณะอำเภอคำชะอี (ธรรมยุต) อำเภอนิคมคำสร้อยจังหวัดมุกดาหาร
  • พระมหาเสริม ฉินนาลโย ป.ธ.3 เจ้าอาวาสวัดภูหินดัง ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ อุดรธานี
  • ผศ.พระครูสุนทรธรรมโสภณ คณาจารย์มหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธร อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
  • พระมหา ดร.สมนึก กัมพุวัณโณ ปธ.9 ปริญญาเอก คณาจารย์ มหามกุฎราช วิทยาลัย วิทยาเขตวังน้อย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • พระมหาไพบูลย์ ธัมมวิปุโล ป.ธ.3 เจ้าอาวาสวัดเกาะแก้วภูซาง ตำบลบุญทัน อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู
  • พระมหาปรมัตถพล สารทโร ป.ธ.3 เจ้าอาวาสวัดภุมดง่าม ตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • พระราชกิจจาภรณ์ ( เทอด ญาณวชิโร ) ป.ธ.6 ปริญญาโท ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดสระเกศวรมหาวิหาร
  • พระมหาดุสิต ญาณภูสิโต ป.ธ.9 ปริญญาโท ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหัวลำโพง กรุงเทพมหานคร
  • พ.ต.ท. ไมตรี ตุ้มอ่อน (สบ.3) สภ.ผักให่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ร.ต.ท. วชิรานนท์ บุญเย็น สภ.ตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี
  • ด.ต. ณัฐวิทย์ บุญเติม สน. บางพลัด กรุงเทพมหานคร
  • อาจารย์ อาราธีก์ รักษาวงศ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนโนนก่อ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • อาจารย์ ประดิษฐ์ ประสานพิมพ์
  • และบรรดาศิษย์จำนวนมาก ที่ไม่ได้แจ้ง

งานด้านการเผยแผ่

  • เป็นวิทยากรอบรมศีลธรรมและวัฒนธรรมประจำศูนย์ฯ วัดนรนาถสุนทริกา ราม กรุงเทพมหานคร
  • เป็นพระปริยัตินิเทศก์ ประจำจังหวัดอุบลราชธานี
  • เป็นหัวหน้าคณะวิทยากรประจำศูนย์พุทธเยาวชน ยุวพุทธิกสมาคม อุบลราชธานี
  • เป็นวิทยากรอบรมคุณธรรม จริยธรรมในสถานศึกษาต่างๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • อบรมศีลธรรม และวัฒนธรรมแก่ประชาชนทั่วไป
  • เผยแพร่ธรรมะทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์ เช่น รายการหาแก่นธรรม
  • ประพันธ์หนังสือธรรมะ เรื่อง มองแม่ การฝึกสมาธิ ทางแห่งความดี
  • เป็นพระนักเทศน์ และนักปฏิบัติที่มีชื่อเสียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ งานสาธารณูปการ
  • พ.ศ. 2535 เป็นผู้นำญาติโยมสร้างน้ำประปา บาดาลขนาดใหญ่ ที่วัดบ้านเตาไห ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร ให้ประปาบริการชุมชน 2 หมู่บ้าน จำนวน 442 ครอบครัว สิ้นงบประมาณ 3,000,000 ล้านบาท
  • พ.ศ.2537 เป็นผู้นำญาติโยมสร้างน้ำประปาขนาดใหญ่ ที่วัดพรมศิลาแตล บ้านแตล ตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ให้บริการชุมชน 4 หมู่บ้าน จำนวน 496 ครอบครัว สิ้นงบประมาณ 1,246,200 ล้านบาท
  • สร้างประปาให้โรงเรียนไพษร บ้านสำโรง ตำบลขวาวใหญ่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ พร้อมพระพุทธรูปประจำห้องเรียน สิ้นงบประมาณ 70,000 บาท มอบทุนการศึกษาโรงเรียนบ้านแตล 37,000 บาท
  • เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งกลุ่มฌาปนกิจศพบ้านแตล บ้านเกิดของท่าน
  • เป็นผุ้พาญาติโยมสร้างวัดป่าบ้านฟองใต้ ตำบลวังกวาง อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ สิ้นงบประมาณ 1,486,652 ล้านบาท

พระผู้จุดประกายอุดมการณ์สำนักเรียนบาลีของ ท่านเจ้าคุณ พระมงคลธรรมวัฒน์ วัดปากน้ำ
ท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ สมัยมีสมศักดิ์พระครูพัฒนกิจวิมล มีความตั้งใจที่จะให้มีการจัดตั้ง โรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ขึ้นใน วัดปากน้ำ (หลวงพ่อเงิน) หลังจากที่ท่านมีความพยายามส่งเสริมลูกศิษย์ไปศึกษาเล่าเรียนตามสำนักเรียนบาลีต่างๆ ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และในจังหวัดต่างๆรวมทั้งจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อที่จะให้ลูกศิษย์ที่สอบได้เปรียญแล้วกลับมาเป็นครูสอนในอนาคต พระมงคลธรรมวัฒน์ได้พาลูกศิษย์สามเณรไปฝากไว้กับ พระอาจารย์มหามังกร ปัญญาวโร ที่จำพรรษาที่ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ในปีพ.ศ.2525 ระยะแรก 2 รูป คือ สามเณรณัฐวิทย์ (เสถียร) บุญเติม สามเณรวชิรานนท์ (ไพฑูรย์) บุญเย็น ( จริงๆแล้ว พระมงคลธรรมวัฒน์ กับ พระอาจารย์มหามังกร ปัญญาวโร ท่านรู้จักกันมาหลายปีแล้ว สมัยที่มหาพิสัณห์ ทองไทยชาวบ้านกุดลาดเป็นอาจารย์ที่วัดนรนาถสุนทริการาม ท่านได้มีโอกาสติดตามมหาพิสัณห์ มา บ้านปากน้ำบ่อยครั้ง) หลังจากนั้นศิษย์ทั้งสองไม่ทำให้ท่านเจ้าคุณผิดหวังสอบได้เปรียญ 2-3 ได้ ท่านเจ้าคุณได้ปรารภต่อหน้า พระอาจารย์ มหามังกร อยู่เป็นประจำในเรื่องการ ตั้งโรงเรียนแผนกบาลี แต่ขาดครูผู้สอน ในช่วงที่ พระอาจารย์มหามังกร ปัญญาวโร จำพรรษาที่ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร นั้น ทำให้สำนักเรียนมีชื่อเสียงบรรดาลูกศิษย์สอบได้เป็นจำนวนมากหลังจากที่ไม่ปรากฏมาหลายปี ระยะปีพ.ศ.2527-2528 ทาง วัดปากน้ำ ก็มีการเรียนการสอนบาลีไวยากรณ์ และประโยค 1-2 เมื่อใกล้จะสอบ ท่านเจ้าคุณจะส่งลูกศิษย์ทุกคนไปอบรมเข้มที่ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร จนเมื่อปีพ.ศ. 2529 พระอาจารย์มหามังกร ปัญญาวโร จึงได้ตกลงออกไปจำพรรษา ที่วัดป่าพระพิฆเณศวร์ บ้านปากน้ำ ได้วางแนวทางการตั้ง โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี อย่างเป็นทางการ และเป็น ครูผู้สอนนักธรรม บาลี ด้วย ท่านเจ้าคุณได้เปิดรับสามเณรจากที่อื่นมาศึกษาเล่าเรียนเป็นจำนวนมาก สำนักเรียนบาลีของ วัดบ้านปากน้ำ ปรากฏมีการสอบเลื่อนชั้นเปรียญธรรมได้เป็นจำนวนมากจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

นอกจากจะเป็นกำลังหลักในการวางแผนการเรียนการสอบอย่างเป็นระบบแล้ว พระอาจารย์มหามังกร ฯ ท่านยังได้ช่วยท่านเจ้าคุณพัฒนาวัดวาอาราม จัดกิจกรรมปฏิบัติธรรมดึงชาวบ้านเข้าวัด ส่งเสริมเยาวชนให้สนใจธรรมมากขึ้น ได้ก่อตั้งกลุ่มเยาวชนของหมุ่บ้าน ก่อตั้งกลุ่มสาภัญญะ จัดกิจกรรมทำบุญนอกสถานที่ จนทำให้ชาว บ้านปากน้ำ มีความสุข ทุกกิจกรรมและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี พระอาจารย์มหามังกร จำพรรษาที่วัดป่าพระพิฆเณศวร์ แต่ปี 2527-2531 นอกจากท่านจะทุ่มเทกับภารกิจของสงฆ์ทั้งปวงแล้วท่านได้เข้าสู่เป็นพระนักปฏิบัติอย่างจริงจัง ก่อนที่ท่านจะย้ายไปจำพรรษาที่ วัดภูหินดัง อุดรธานี เหล่าดวงวิญญาณ ทวยเทพ ที่อยู่วัดป่าได้ปรากฏกายในนิมิตรอ้อนวอนไม่ให้ท่านไปจำพรรษาที่อื่นเนื่องจากท่านได้จัด ปฏิบัติธรรม อยู่บ่อยครั้งเหล่าดวงวิญญาณ เทวดา อสูร คนธรรค์ได้รับส่วนบุญกุศลที่ผู้คนปฏิบัติธรรมได้แผ่ส่วนบุญกุศลให้ บางวิญญาณได้ไปผุดไปเกิด ท่านก็ได้บอกเขาไปว่าไม่ได้เพราะได้รับขันธ์นิมนต์ไว้แล้ว หลังจากทราบจากคำพูดท่านแล้วญาณเหล่านั้นก็ได้พากันก้มลงกราบและขอลากลับไป

คติธรรม ปณิธานแห่งชีวิต พระมหามังกร ปัญญาวโร
” ข้าจะยิ้มแย้มแจ่มใส ข้าจะให้อภัยแก่ทุกผู้
ข้าจะทำดีแม้มีศรัตรู ข้าจะอยู่ด้วยเมตตากรุณา
ข้าจะรักทุกคน ข้าจะไม่ดิ้นรนด้วยตัณหา
ข้าจะทำพูดคิดด้วยเมตตา ข้าจะสร้างปัญญาให้กล้าคม “

คนดี 3 ระดับ
1. คนดีอย่างสามัญ ได้แก่คนที่ประพฤติถูกต้องตามหน้าที่ของตน คนเช่นนี้ย่อมได้รับความนับถือ
2. คนดีระดับกลาง คือคนสำรวมอินทรีย์ อยู่ในศีล คนเช่นนี้ย่อมได้ รักความเคารพ
3. คนดีระดับสูงได้แก่ คนที่ปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลส ออกจากตนตามหลักของกรรมฐาน(สมาธิ, วิปัสสนา) คนเช่นนี้ ย่อมได้รับการบูชาสักการะ แม้ตายแล้วยังบูชาบริขารและอัฐิ

ความหมายคำว่าครู อาจารย์ ผู้สอน

  • ครูคือแม่พิพม์ของชาติ(รูปลักษณ์และทิศทางของชาติ)
  • ครูคือผู้ผลิตทรัพยากรบุคคล แก่แผ่นดิน ต้องผลิตให้พอ มีฝีมือประณีต(ทรัพยากรบุคคล คืออะไหล่ที่สำคัญของชาติ)
  • ครูคือปูชนียบุคคล(เขาเคารพคุณงามความดี)
  • ครูคือครุฏฐานียบุคคล(มีบุญมีคุณแก่คนมาก)
  • ครูคือผู้ให้ตา ที่กว้างไกลทันโลก ทันการณ์แก่เรา
  • ครูคือผู้ให้อาชีพการงาน ฐานะ ยศตำแหน่ง เกีรยติ ศักดิ์ศรี ความสะดวกสบายแก่สังคม
  • ครูคือส่วนหนึ่งแห่งความดี ความเจริญรุ่งเรือง ของคนและสังคม
  • ครูคือผู้สร้างจิตวิญญาณของชาติบ้านเมือง หากจิตวิญญาณของคนใน ชาติตกต่ำ ความวิบัติหายนะมากมายจะเกิดขึ้น
  • ครูคือสมองของชาติบ้านเมือง(ความคิดอ่านของคนในชาติ)
  • ครูคืออวัยวะของชาติบ้านเมือง(ความก้าวหน้าของชาติ)
  • ครูคือDriverของชาติบ้านเมือง
  • ครูคือผู้กำหนดชะตาและอนาคตบ้านเมือง
  • ครูคือเข็มทิศและแผนที่ของชาติบ้านเมือง
  • สมาธิ คือ เส้นทางที่พระพุทธเจ้า และบรรดาพระอรหันต์ ตลอดทั้งพระสุปฏิปันโนทั้งหลายใช้ดำเนิน

พระอาจารย์มหามังกร ปัญญาวโร มรณภาพ วันที่ 3 มิถุนายน 2548
มี พระราชทานเพลิงศพ (เป็นกรณีพิเศษ) ณ เมรุพิเศษ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อำเภอ เมือง จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 2 กรกฎาคม 2548 (อายุ 54 ปี)  พระพรหมเมธี เลขาธิการคณะธรรมยุตและกรรมการมหาเถระสมาคม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย เป็นประธานฝ่ายฆราวาส บรรดาลูกศิษย์ได้จัดสร้างรูปเหมือน พระอาจารย์มหามังกร ปัญญาวโร เพื่อให้ลูกศิษย์ได้รำลึก กราบไว้บูชาคุณงามความดีของท่าน

  • จุดที่ 1 วัดป่าพระพิฆเณศวร์ บ้านปากน้ำ ต.กุดลาด อ.เมือง จ.อุบลฯ นายบัวผัน สุขนิจ นายกอบต.กุดลาด ร่วมกับชาวบ้านปากน้ำ บริจาคสร้างขึ้น
  • จุดที่ 2 วัดพรมศิลาแตล ต.แตล อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
  • จุดที่ 3 วัดภูหินดัง ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

ฟังธรรม ออนไลน์

มรดกธรรม ของอาจารย์ พระมหามังกร ปัญญาวโร
คลิ๊กฟังเทศนาธรรม



พระบูรพาจารย์ชุมชน บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง

เฟสบุ๊ค วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง : https://www.facebook.com/watpaknumubon/