บุญบั้งไฟ บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง

บุญบั้งไฟ กับ ชุมชน บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง ความเป็นมา ของ ประเพณี บุญบั้งไฟ ของ คนอีสาน ทั่วไป จะนับถือ วิญญาณบรรพบุรุษ คือ ผีปู่ตา, แถน ควบคู่ไปกับการนับถือ พระพุทธศาสนา ฉะนั้นในแต่ละหมู่บ้านทางภาคอีสาน จะต้องมี ” ดอนปู่ตา ” ซึ่งเป็นที่ ดอน หมายถึงป่าไม้ที่ มีต้นไม้ใหญ่ไม่ไกลจากหมู่บ้านนัก ประเพณี บุญบั้งไฟ,บุญบั้งไฟ เป็น ประเพณี ที่นิยมทำกันเดือน 6 การจัดทำ บุญบั้งไฟ ขึ้นเพื่อบูชาอารักษ์หลักเมืองเป็น
ประเพณีทำบุญ ขอฝนเพื่อให้ฝนตากต้องตามฤดูกาลเป็น ประเพณี ที่ถือปฏิบัติมาแต่ โบราณ ประเพณีบุญบั้งไป บางหมู่บ้าน ต้องถือ และเคร่งมากคือจะต้องทำ บุญบั้งไฟ ทุก ๆ ปี สำหรับเจ้าปู่ และจะไม่สามารถเว้น การจัด งานประเพณี บุญบั้งไฟ นี้ไม่ได้ ไม่ได้ เพราะหากไม่จัดทำ บุญบั้งไฟ โดยมีความเชื่อว่าอาจทำให้เกิดเหตุเภทภัยต่าง ๆ เช่นฝนแล้งบ้างหรือไม่ตกต้องตามฤดูกาลบ้างคนหรือวัวควายอาจเกิดเจ็บป่วยเป็นโรคต่าง ๆ บ้างเป็นต้นและเมื่อ ได้ จัดทำ บุญประเพณี บุญบั้งไฟ แล้ว ก็เชื่อว่าฟ้าฝนจะอุดมสมบูรณ์ประชาชนในละแวกนั้นจะอยู่เย็นเป็นสุขเพราะมีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ทั้งปราศจากโรคภัยด้วยการเตรียมงานเมื่อชาวบ้านตกลงกำหนดวันกับทางวัดแล้วว่าจะทำ บุญบั้งไฟ วันใดก็พากันจัดหาเงินซื้อดินประสิวไปมอบให้ทางวัดเพื่อให้เจ้าอาวาสประชุมประภิกษุสามเณรและชาวบ้านจัดทำบั้งไฟขึ้นและเจ้าบ้าน(คนในหมู่บ้านที่เป็นเจ้าภาพ)จะทำฎีกาบอกบุญไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงเพื่อให้ชาวบ้านอื่นจัดบั้งไฟและขบวนเซิ้งมาร่วมงานบุญและประชันกันบางทีมีประกาศให้หมู่บ้านหรือบุคคลนำ บั้งไฟ มาประกวดกันโดยประกาศทั้งขบวนแห่งการประดับตกแต่งบั้งไฟและการจุดขึ้นสูงของบั้งไฟด้วยทางคณะเจ้าภาพจะจัดหารางวัลให้ผู้ชนะเมื่อใกล้จะถึงวันกำหนดงานชาวบ้านที่เป็นเจ้าของงานจะพากันปลูกเพิงหรือผาม(ประรำ)รอบบริเวณวัดหรือศาลาวัดเพื่อให้คนหมู่บ้านอื่นที่มาร่วมงานได้พักอาศัยและทุกบ้านเตรียมสุราอาหารทั้งคาวหวานไว้ต้อนรับแขกที่จะมาจากต่างถิ่นโดยไม่คิดมูลค่าส่วนผู้ชำนาญในการทำบั้งไฟก็เตรียมหาไมและอุปกรณ์มาทำบั้งไฟ บั้งไฟมีความเล็กใหญ่แล้วแต่ความต้องการหรือตามความสามารถของผู้จัดทำที่มีขนาดใหญ่มี2ชนิดคือ บั้งไฟหมื่นและบั้งไฟแสนตามน้ำหนักของดินปืนบั้งไฟหมื่นใช้ดินปืนหนัก 12 กิโลกรัม(หนึ่งหมื่น)ถ้า บั้งไฟแสนก็ใช้ดินปืนหนักสิบหมื่น(120 กิโลกรัม)บั้งไฟ คือ กระบอกไม้ไผ่ยาวประมาณ2ถึง3เมตร ทะลุปล้องออกหรือกระบอกเหล็กกลม ๆ กลวงข้างในก็ได้ สสำหรับใช้บรรจุดินปืน ตำดินปืนให้แน่นเกือบเต็มกระบอกโดยมีลิ่มอุดที่ปลายกระบอกข้างหนึ่งให้แน่น เอาดินเหนียวปิดปากกระบอกอีกข้างหนึ่งเสร็จแล้วเจาะรูให้พอเหมาะแล้วเอาไม้ไผ่ขนาดเล็กเป็นท่อน ๆ ข้างกันมีข้อยาวต่าง ๆ กันมาเป็นลูกบั้งไฟโดยมัดรอบตัว บั้งไฟ เพื่อให้เกิดเสียงดังเมื่อ บั้งไฟ อยู่ในอากาศและมีไม่ไผ่ลำยาวทำเป็นหางมีขนาดสั้นยาวแล้วแต่ขนาดของ บั้งไฟ แล้วประดับประดา บั้งไฟ ด้วยกระดานสีทำลวดลายต่าง ๆ กันแล้วแต่จะเห็นสวยงามวันทำบุญเมื่อถึงวันทำบุญชาวบ้านที่เป็นเจ้าของที่ทำบุญเตรียมทาอาหารการกินรับแขกและภัตตาหารสำหรับถวายพระภิกษุสามเณรที่มาร่วมงานส่วนชาวบ้านในหมู่บ้านอื่น ๆ ที่ได้รับการบอกบุญก็จะมีทั้งผู้เฒ่าผู้แก่หนุ่มสาวและเด็กพร้อมทั้ง บั้งไฟ มาร่วมงานบุญที่วัดซึ่งตามปรกติจะมาพร้อมกับพระภิกษุสามเณรที่มาร่วมงานบุญในงาน บุญบั้งไฟ พ่อแม่ยินดีให้ลูกสาวไปร่วมงานโดยไม่มีการขัดข้องเกี่ยงงอน เนื่อง จาก ถือว่า ได้ร่วม ประเพณี บุญบั้งไฟ เป็นการ สร้างบุญ และ ถือเป็น ประเพณี อย่างหนึ่ง ที่สืบทอดมากจาก บรรพบุรุษ และ ได้ ร่วม ม่วนซื่น กับ เจ้าปู่ตา ที่ เคารพนับถือ และ เป็นที่ ปกป้องเภทภัย แต่ละ หมู่บ้าน

บุญประเพณี บุญบั้งไฟ บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง ( ทุก ๆ 3 ปี )

เพื่ออนุรักษ์ประเพณี และ วัฒนธรรมอันดีงาม ของ ชุมชนบ้าน ปากน้ำ ที่ได้ปฎิบัติ สืบต่อกันมา นานแสนนาน และ เป็นการเสริมสร้างความสามัคคี ของ ชุมชน บ้านปากน้ำ และ หมู่บ้าน ไกล้เคียง พร้อม ให้เยาวชนคนรุ่นหลังได้ เรียนรู้จักอนุรักษ์ และร่วมสืบสานประเพณี บุญบั้งไฟ และ ในปีนี้ เป็นปี ที่ได้ บรรจบครบรอบ ปีที่ 3 ที่ต้องจัดทำ ประเพณีบุญบั้งไฟ โดย มีกำหนดการ ประเพณี บุญบั้งไฟ ขึ้นช่วงเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน  ซึ่งจะมีกำหนดการ ดังต่อไปนี้

กำหนดการประเพณี บุญบั้งไฟ บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง

วันที่ 1 วันแห่บั้งไฟ

  • เวลา 08.00 น. ร่วมกันถวาย อาหารเช้า แด่ พระภิกษุ สงฆ์ สามเณร ณ วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง
  • เวลา 14.00 น. ทำพิธีอัญเชิญ เจ้าปู่ตา ที่ ดงเจ้าปู่ตา เพื่อ ร่วม งานบุญบั้งไฟ และ เริ่มแห่ขบวนบั้งไฟ ตั้งแต่ สนาม โรงเรียน บ้านปากน้ำ ตามเส้นทาง จาก หมู่ที่ 3 หมู่ ที่ 10 และ ปลายทาง วัดบ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง โดบ ขบวนแห่ ประกอบด้วย ขบวนฟ้อนรำ จาก คุ้ม ชมรมต่าง ๆ อาทิเช่น กลุ่มแม่บ้าน บ้านปากน้ำ กลุ่มเยวชน บ้านปากน้ำ กลุ่ม โรงเรียน บ้านปากน้ำ และ สนุกสนาน ขบขัน กับ กลุ่ม แต่งกาย แฟนซี ( บักเลง ) หลากหลาย ตัวตลก ที่จะทำให้ เขา ตลอดเวลา โดย ชุมชนปากน้ำ
  • เวลา 15.00 น. คณะกรรมการตัดสิน ขบวนแห่ และ แต่งกายแฟนซี ( บักเลง )

วันที่ 2 วันจุดบั้งไฟ

  • เวลา 11.00 น. เริ่มจุดบั้งไฟ และ ดนตรี มหรสพ ตลอดทั้งวัน

วีดีโอ บุญบั้งไฟ อุบลราชธานี

ประเพณี อีสาน บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง