พระมงคลธรรมวัฒน์ ” บุญจันทร์ จัตตสัลโล ” ประทีป แห่งแม่มูล

ชีวประวัติ โดยสังเขป ท่านเจ้าคุณ พระมงคลธรรมวัฒน์ (บุญจันทร์ จตฺตสลฺโล)
อดีตเจ้าอาวาส วัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

เกิดเมื่อ วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ อายุ ๘๑ ปี พรรษา ๖๐
บิดา นายคำ มารดา นางคูณ นามสกุล ประสานพิมพ์
ณ บ้านเลขที่ ๑๐๙ หมู่ ๓ บ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
พระมงคลธรรมวัฒน์ " บุญจันทร์ จัตตสัลโล " ประทีป แห่งแม่มูล
บรรพชา

เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ ณ วัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระครูคัมภีรญาณ วัดบ้านแคน ตำบลดอนมดแดง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์

อุปสมบท

เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระครูคัมภีรญาณ วัดบ้านแคน ตำบลดอนมดแดง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดี กนฺตสีโล วัดดงบังเหนือ ตำบลดอนมดแดง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการกุ ปญฺญาวโร วัดยางวังไฮ ตำบลดอนมดแดง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีเป็นพระอนุสาวนาจารย์

การศึกษา

  • พ.ศ. ๒๔๘๒ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนวัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๔๘๘ สอบได้นักธรรมชั้นเอกจากสำนักศาสนศึกษาวัดหลวง อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๔๙๒ สอบไล่ได้มัธยมศึกษา มศ. ๕ ( ม.๕ เดิม ) จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๔๙๘ สอบได้ประโยคครูพิเศษมูล

งานการปกครอง

  • พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดผาแก้วใหญ่ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นผู้รักษาการเจ้าวัดผาแก้วน้อย ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับบัญชาแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ ตำบลกุดลาด

งานการศึกษา

  • พ.ศ. ๒๕๒๙ เปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี สำนักศาสนศึกษาวัดปากน้ำ (บุ่งสระพัง)อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

งานด้านสาธารณูปการ

  • พ.ศ. ๒๕๒๐ ดำเนินการสร้างอุโบสถทรงไทยที่ วัดปากน้ำตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ลงรักปิดทอง ปูหินอ่อน
  • พ.ศ. ๒๕๒๕ ดำเนินการสร้างกุฏิลักษณะทรงไทย ๔ หลังที่ วัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๒๕ ดำเนินการสร้างซุ้มประตูหน้าวัดลักษณะทรงไทย ติดลายปูนปั้นที่วัดปากน้ำตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๒๘ ดำเนินการสร้างอาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ลักษณะทรงไทยประยุกต์ ๒ ชั้น
  • พ.ศ. ๒๕๓๘ ดำเนินการสร้างศาลาการเปรียญทรงไทย ณ วัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นทำด้วยหินขัด พ.ศ. ๒๕๓๘ สร้างพระเจ้าใหญ่บรรจุพระพุทธรูปทองคำประดิษฐานในศาลาการเปรียญ ที่วัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๓๗ ดำเนินการขุดสระน้ำ ณ วัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี กว้าง ๒๕ เมตร ยาว ๕๐ เมตร เพื่อใช้อุปโภค บริโภค ภายในวัด
  • พ.ศ.๒๕๓๙ ดำเนินการสร้างศูนย์เด็กก่อนวัยเรียนประจำหมู่บ้าน ๑ หลัง ชั้นเดียว ณ วัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๔๓ ดำเนินการก่อสร้างศาลานาบุญ ณ วัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สร้างด้วยไม้ หลังคาสังกะสี
  • พ.ศ. ๒๕๔๔ ดำเนินการสร้างหอไตรลักษณะทรงไทย ๑ หลัง ณ วัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • พ.ศ. ๒๕๔๕ ดำเนินการสร้างเมรุ ณ วัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๔๕ ดำเนินการสร้างหอระฆังลักษณะทรงไทย จำนวน ๑ หลัง ณ วัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • พ.ศ. ๒๕๔๕ ดำเนินการสร้าง พระธาตุพนมจำลอง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปทองคำ หลวงพ่อเงินจำลอง ณ วัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • พ.ศ. ๒๕๔๖ ดำเนินการบูรณะโรงครัวภายในวัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • พ.ศ. ๒๕๔๘ ดำเนินการสร้างกุฏิรับรองลักษณะทรงไทย สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ณ วัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง
  • พ.ศ. ๒๕๔๘ ดำเนินการสร้างกำแพงรอบวัด ณ วัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

งานบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดปากน้ำ

  • พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้ดำเนินการปฏิสังขรณ์อาคารพระปริยัติธรรม ๑ หลัง ลักษณะทรงไทย ๒ ชั้นทำด้วยไม้ เสาคอนกรีต หลังคามุงสังกะสี ณ วัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้ดำเนินการปฏิสังขรณ์กุฏิสงฆ์ ๑ หลัง ลักษณะทรงไทย ๒ ชั้นทำด้วยไม้ เสาคอนกรีต หลังคามุงสังกะสี ณ วัดปากน้ำตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

วัดที่อยู่ในการอุปภัมภ์

  • พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้ดำเนินการบูรณะ วัดป่าพิฆเณศวร์  วัดป่าบ้านบาก ดงพระคเณศ (เพื่อใช้เป็นที่ปฎิบัติธรรม) โดยการสร้างกำแพงรอบวัด (บุ่งสระพัง) ศาลาการเปรียญ
    บ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ.๒๕๒๐ ได้ซื้อที่ดินขยายพื้นที่วัดป่าพิฆเณศวร์ ให้ครอบคลุมพื้นที่ป่าและหนองน้ำในบริเวณนั้นทั้งหมดประมาณ ๗ ไร่
  • พ.ศ.๒๕๒๔ ดำเนินการสร้างศาลาพักสงฆ์ ณ สำนักสงฆ์บุ่งสระพัง (โนนวัด) ที่บ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๓๕ ดำเนินการสร้างกุฏิสงฆ์ ๑ หลัง ลักษณะทรงไทย ๒ ชั้นทำด้วยไม้ เสาคอนกรีต หลังคามุงสังกะสี ณ วัดนาคำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ.๒๕๒๖ ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญทรงไทย วัดบ้านนาคำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๒๘ ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญและอุโบสถทรงไทย วัดบ้านหนองมะนาว ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๓๐ ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถทรงไทย สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ณ วัดบ้านบ่อหวาย ตำบลกระโสบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ.๒๕๓๕ ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญ วัดบ้านโคกกลาง ตำบลคำหว้า อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๓๖ ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญ วัดบ้านโนนสมบูรณ์ ตำบลบุ่งมะแลง กิ่งอำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๓๘ ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถทรงไทย สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ณ วัดบ้านนางิ้ว ตำบลกระโสบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๓๙ ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถทรงไทย สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ณ วัดบ้านค้อ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ทรงไทย
  • พ.ศ. ๒๕๔๐ ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถทรงไทย สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ณ วัดผาแก้วใหญ่ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ทรงไทย
  • พ.ศ. ๒๕๔๐ ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญทรงไทย สร้างด้วยไม้ พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงด้วยสังกะสี ณ วัดป่าพิฆเณศวร์ บ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้ร่วมกับทางราชการดำเนินการขุดสระน้ำสาธารณะที่บ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ขนาดกว้าง ๔ ไร่ ลึก ๖ เมตร เพื่อให้ประชาชนทั่วไปใช้ประโยชน์
  • พ.ศ. ๒๕๔๒ ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถทรงไทย สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ณ วัดบ้านหมากมี่ ตำบลกระโสบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ.๒๕๔๕ ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถทรงไทย วัดผาแก้วน้อย ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ.๒๕๔๖ ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญทรงไทย สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก วัดหนองคู ตำบลกุดประทาย อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๔๙ ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญ วัดบ้านผ้าแก้วน้อย ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

งานสาธารณสงเคราะห์

  • พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้นำประชาชนดำเนินการปรับปรุงและสร้างถนนในหมู่บ้านปากน้ำตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ.๒๕๑๙ ได้นำประชาชนก่อสร้างสถานีอนามัยประจำตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้ดำเนินการก่อสร้างธนาคารข้าวและซื้อข้าวเข้าธนาคารเพื่อเป็น กองทุนสงเคราะห์ประชาชน ที่บ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนบ้านปากน้ำ (อาคารบุญจันทร์) ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาสภาตำบลกุดลาด (สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี) บ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนบ้านปากน้ำ (อาคารพัฒนกิจวิมล) ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ร่วมกับทางราชการดำเนินการสร้างถนนจากทางหลวงแผ่นดินเข้าสู่สำนักสงฆ์บุ่งสระพัง(โนนวัด)หน้ากว้าง ๔ เมตร หนา ๒๐ เซนติเมตร เป็นระยะทาง ๒.๕ กิโลเมตร ที่บ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาเย็นใจ ทรงไทยสมัยใหม่ ๒ ชั้น สร้างด้วยไม้ พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ทรายหาดบุ่งสระพัง(ซึ่งต่อมานายอำเภอเมืองอุบลสมัยนั้น ได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อ หาดบุ่งสระพัง เป็นหาดศรีพิรมย์ ตามนามสกุลของนายอำเภอ)บ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ร่วมกับทางราชการดำเนินการสร้างถนนจากทางหลวงแผ่นดินเข้าสู่หาดบุ่งสระพัง หน้ากว้าง ๔ เมตร หนา ๒๐ เซนติเมตร เป็นระยะทาง ๓ กิโลเมตร ที่บ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้สร้างถนนคอนกรีต เสริมเหล็กรอบวัด ณ วัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เริ่มงานการศึกษา

การศึกษาพัฒนาชีวิต ประเทศชาติ และพระศาสนา

หลังจากท่านเจ้าคุณท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ได้พัฒนาชุมชนให้เกิดความก้าวหน้าในหลายๆ ด้านแล้ว ในขณะเดียวกันท่านก็ได้พัฒนาการศึกษาควบคู่กันไปด้วย ท่านได้ตั้งความหวังไว้ว่า จะเปิดสำนักเรียนขึ้นที่วัดปากน้ำแห่งนี้ให้ได้ และท่านได้ยึดเป็นหลักการไว้ว่า “การเปิด สำนักเรียนบาลี ที่จะให้มั่นคง และประสบผลสำเร็จนั้น จะต้องมีครูสอนที่เป็นลูกศิษย์โดยตรงเท่านั้น เพราะปัจจัยที่สำคัญของการเรียนการสอนภาษาบาลี อยู่ที่ครูผู้สอน” ท่านเจ้าคุณ ท่าน เจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ จึงเริ่มบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ทางการศึกษา ไปพร้อมกับการพัฒนาชุมชน ระยะแรกท่านได้นำเยาวชนลูกหลานเข้ามาบวชเป็นพระภิกษุสามเณรแล้วส่งเสริมให้ศึกษาเล่าเรียน ทั้งทางโลกและทางธรรมโดยมีความหวังที่จะเห็นลูกศิษย์ได้เป็นเปรียญธรรมและด้านทางโลกก็ต้องให้มีการศึกษาสูงขึ้นไปตามลำดับ จึงได้ส่งลูกศิษย์ให้ไปเรียนในสำนักเรียนต่างๆ ทั้งใกล้และไกล แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากการ เรียนภาษาบาลี เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ผู้ศึกษาต้องใช้ความจำ ความอดทน และความมุ่งมั่นสูง หากขาดความอดทน การศึกษาภาษาบาลีก็ไร้ผล ท่านจึงมักสอนลูกศิษย์ให้อดทนว่า

“แลนไวสามเหล่า เต่าช้าสามหนอง”
“แลน(ตะกวด)แม้จะวิ่งเร็ว ก็สามารถวิ่งได้ ๓ ป่า เท่ากับเต่า เต่าแม้จะเดินช้าก็สามารถว่ายน้ำได้ ๓ หนองเท่ากับแลน ช้าหรือเร็ว ไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องอดทนที่จะเดินไปหาจุดหมาย”

“นกเอิ้นทางใด๋ ว่าดี ชะนี เอิ้นทางใด๋ ว่าม่วน”
“อย่าใส่ใจเสียงนกเสียงกา ว่าร้องอยู่ป่าโน้นแล้วจะดี แต่จงมุ่งมั่นทำหน้าที่ของตนให้ดี”

“ สิอยู่ให้ปลูกม่อน สิหนีให้ซอนฮั้ว ”
“ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน จงอยู่เพื่อสร้างคุณงามความดี”

“ สิอยู่กะให้เขาฮัก สิจากกะให้เขาคึดฮอด ”
“ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน จงทำตัวให้เขารัก และให้เขาคิดถึงเมื่อยามจาก”

“ หนูกินม่อนจังเห็นคุณแมว ลูกแขวนแอวจังเห็นคุณพ่อแม่ ”
“คนเราจะนึกถึงบุญคุณพ่อแม่อย่างแท้จริง ก็ต่อเมื่อมีลูกของตนเองแล้ว”

“ ทำดีเห็นฮอยไว้ไผบ่ว่าดีกะตามซาง ทำชั่วซูซอยไว้ ไผสิย่องกะซ่างเขา ”
“ ถ้าเราทำดีแล้ว หากใครว่าไม่ดีก็ช่างเขา คนทำชั่ว แต่กลับมีคนยกย่องสรรเสริญก็อย่าได้ท้อใจว่าทำดีไม่มีคนยกย่อง ”

ลูกศิษย์ที่ส่งไปเรียนก็ไม่มีความอดทนพอที่จะเรียนจนสอบเลื่อนชั้นได้เป็นเปรียญธรรม เนื่องจากขาดความอดทน และทนต่อการเรียกร้องของเพื่อนที่บอกว่า เรียนทางโลกดีกว่า ไม่ได้ จึงเลิกเรียนบาลีหันไปเรียนทางโลก เพราะง่ายกว่า ต่อมา ท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ จึงทดลองส่งลูกศิษย์รูปหนึ่งไปเรียนที่กรุงเทพฯ โดยไปฝากไว้กับ พระมหาพิสัณห์ ทีฆายุโก (ทองไทย) ป.ธ ๘ วัดนรนาถสุนทริการาม ความหวังของท่านที่จะเห็นหมู่บ้านแห่งนี้เป็นสำนักเรียนเริ่มเป็นความจริงขึ้นมา เมื่อลูกศิษย์รูปดังกล่าวสอบไล่ได้เป็นเปรียญรูปแรกของหมู่บ้าน อนาคตของสำนักเรียนอยู่ไม่ไกลอีกต่อไปแล้ว แต่ท่านก็พบกับความผิดหวัง

เมื่อลูกศิษย์รูปดังกล่าวได้ลาสิกขาไปด้วยระยะเวลาอันสั้น ภายหลังจากสอบไล่ได้ไม่นาน การลาสิกขาของลูกศิษย์รูปดังกล่าว แม้จะทำให้ท่านรู้สึกผิดหวัง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ท่านท้อถอย หรือหมดกำลังใจ ท่านเจ้าคุณท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์กลับมองเห็นโอกาสมากขึ้น และเกิดความเชื่อมั่นว่า “หากจะทำให้ลูกศิษย์สอบไล่ได้เป็นเปรียญธรรม จะต้องส่งไปเรียนที่กรุงเทพฯ เท่านั้น” จากนั้น ท่านเจ้าคุณฯ ก็ได้ส่งลูกศิษย์รุ่นต่อมา ไปเรียนที่กรุงเทพฯ ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้ท่านผิดหวัง เมื่อมีลูกศิษย์หลายรูปสอบไล่ได้เป็นเปรียญธรรม ในโอกาสต่อมา ภายหลังจากการที่ท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ได้พัฒนาชุมชนสร้างถาวรวัตถุ โบสถ์ สร้างวิหาร ศาลาการเปรียญ ตลอดจนช่วยพัฒนาวัด ในเขตใกล้เคียงจนประสบผลสำเร็จเป็นที่พอใจ งานด้านการพัฒนา เบาบางลง ชาวบ้านเริ่มอยู่ดีกินดีมากขึ้น ท่านจึงคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างจริงจัง โดยดำริที่จะเปิดสำนักเรียนขึ้นที่วัดปากน้ำตามความตั้งใจ

ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๙ ท่านเจ้าคุณ พระมงคลธรรมวัฒน์ ได้เข้าไป กราบเรียนปรึกษาเจ้าคณะผู้ปกครองเพื่อขอตั้งสำนักเรียน ซึ่งท่านก็ให้กำลังใจและได้รับคำแนะนำเป็นอย่างดี แต่ในขณะเดียวกันก็มี พระผู้ใหญ่บางท่านแนะนำว่า “อย่าตั้งสำนักเรียนเลย สมัยนี้ยากที่จะทำให้นักเรียนสอบไล่ได้ ยิ่งถ้าเจ้าสำนักเรียนไม่ได้เป็นมหาเปรียญ ก็ยิ่งลำบากมาก” บางท่านถึงขนาดบอกกับท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ว่า “อาจารย์ไม่ได้เป็นมหาเปรียญแล้วจะสอนให้ลูกศิษย์เป็นมหาเปรียญได้อย่างไร” สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ความตั้งใจของท่าน เจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ ลดน้อยลง ท่านมีความเชื่อมั่นในหลักการของท่านว่า “ปัจจัยที่สำคัญของการเรียนการสอนภาษาบาลี ที่จะประสบ ผลสำเร็จ อยู่ที่ครูผู้สอน ไม่ใช่เจ้าสำนักเรียน เจ้าสำนักเป็นแต่เพียง ผู้สนับสนุนเท่านั้น ครูผู้สอนจะต้องมีเวลาให้กับนักเรียนอย่างเต็มที่ เหมือนพี่สอนน้อง ไม่ใช่ครูสอนนักเรียน การเปิดสำนัก

เรียนบาลีที่จะให้ประสบผลสำเร็จจึงต้องมีครูสอนที่เป็นลูกศิษย์โดยตรง เพราะความที่ครูเป็นปัจจัยหลัก และที่สำคัญ เจ้าสำนักเรียนสามารถตำหนิครูสอนซึ่งเป็นลูกศิษย์ได้” การตั้งสำนักเรียนในวัยที่มีอายุมากแล้ว ท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ มีความมุ่งหวังว่า ในชีวิตของท่านนอกจากอยากเห็นลูกศิษย์ได้เป็นมหาเปรียญแล้ว ท่านก็มีความหวังว่าจะเห็นลูกศิษย์ได้เป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยคสักรูปแค่นี้ก็พอแล้ว แม้ตัวท่านไม่ได้เป็นมหาเปรียญ แต่ก็อยากเห็นลูกศิษย์ได้เป็นมหาเปรียญสูงสุดถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค และในปีเดียวกันนี้ ท่านก็ได้เรียกลูกศิษย์ซึ่งสอบเป็นเปรียญธรรมได้กลับสู่ภูมิลำเนาเดิม ดำเนินการเปิดโรงเรียน พระปริยัติธรรมแผนกบาลีขึ้นอย่างเป็นทางการ

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ หลังจากการจัดตั้งสำนักเรียนได้ ๒ ปี ก็มีมหาเปรียญเกิดขึ้นในนามสำนักวัดปากน้ำ และในปี ๒๕๓๑ ก็มีผู้สอบได้เป็นมหาเปรียญในนามสำนักวัดปากน้ำเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้นโดยลำดับ จากนั้น สำนักเรียนวัดปากน้ำ ก็ได้รับยกย่อง ให้เป็นสำนักเรียนดีเด่นของจังหวัดอุบลราชธานีในเวลาไม่นาน ในขณะที่ท่าน เจ้าคุณท่านเจ้าคุณ พระมงคลธรรมวัฒน์ กำลังมุ่งพัฒนาการศึกษาอย่างจริงจัง ท่านก็ได้พระอาจารย์มหามังกร ปญฺญาวโร เปรียญธรรม ๕ ประโยค มาเป็นกำลังที่สำคัญในด้านการเผยแผ่ โดยท่านพระอาจารย์มหามังกร ปญฺญาวโรเป็นผู้ที่ชอบสงบ หนักในพระกรรมฐานจึงได้มาพำนักอยู่ที่วัดป่าพิฆเณศวร์ ทำงานด้านการเผยแผ่ ในที่สุดชื่อเสียงของวัดปากน้ำทั้งทางด้านการศึกษาและการเผยแผ่ก็เริ่มเป็นที่รู้จักของคณะสงฆ์และประชาชนโดยทั่วไป

กล่าวสำหรับ พระอาจารย์มหามังกร ปญฺญาวโร เป็นชาวจังหวัดสุรินทร์ เคยพำนักศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ที่วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพฯ เป็นผู้มีบทบาทที่สำคัญในด้านการศึกษาและการเผยแผ่ของวัด มีความเคารพท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์เป็นการส่วนตัว มาตั้งแต่ครั้งเป็นสามเณร ภายหลังคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย จังหวัดอุบลราชธานี ได้ขอให้ท่านมาช่วยงานด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ที่วัดสุปัฏนาราม ท่านปฏิบัติหน้าที่สนองงานคณะสงฆ์อยู่ระยะหนึ่ง แต่เนื่องจากท่านมีอุปนิสัยทางด้านพระกรรมฐาน และประกอบกับมีปัญหาด้านสุขภาพ ต่อมา ท่านจึงขอปลีกตัวมาพำนักอยู่ที่วัดป่าพระพิฆเณศวร์ เพื่อเจริญกรรมฐาน และได้กลายเป็นกำลังที่สำคัญด้านการเผยแผ่ของ ท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ ในโอกาสต่อมา

สำนักเรียนวัดปากน้ำ ภายใต้การบริหารของท่านเจ้าคุณ พระมงคลธรรมวัฒน์ ถึงความเจริญสูงสุดจนมีพระภิกษุสามเณรอยู่ในความดูแลของท่านกว่า ๒๐๐ รูป ภายในระยะเวลาเพียง ๕ ปี และแล้วความหวังของท่านก็ เดินทางมาถึงจุดสูงสุด เมื่อลูกศิษย์รูปหนึ่งสามารถสอบได้เป็น เปรียญธรรม ๙ ประโยค และรูปอื่นๆ ก็สอบได้ตามมา ภายหลังการตั้งสำนักเรียนมาได้เป็นระยะเวลา ๑๐ ปี

ท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์เล่าว่า การตั้งสำนักเรียนในวัยที่ท่านอายุมากแล้ว และสามารถทำให้ลูกศิษย์สอบเป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้ทั้งๆ ที่ท่านไม่ได้เป็นมหาเปรียญ ก็ถือว่าท่านได้ทำหน้าที่สนองงานพระศาสนาตามหน้าที่สมบูรณ์แล้ว

จากนี้ไป จึงเป็นหน้าที่ของลูกศิษย์ที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์ ส่วนตัวท่านเองวัยได้ล่วงเลยมามากแล้ว และกำลัง ก็เริ่มลดน้อยลง ถึงเวลาแล้วที่ท่านจะต้องวางภาระวางหน้าที่ เพื่อให้ คนรุ่นหลังได้สืบสานงานพระศาสนาต่อไป.

ท่านเจ้าคุณ พระมงคลธรรมวัฒน์ (บุญจันทร์ จตฺตสลฺโล)

ท่านเจ้าคุณ พระมงคลธรรมวัฒน์ (บุญจันทร์ จตฺตสลฺโล)

พระครูวิโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่รอด) วัดทุ่งศรีเมือง ครูบาอาจารย์ ของ พระมงคลธรรมวัฒน์

บรรพชาที่ วัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ ขณะมีอายุ ๑๕ ปี โดยมี พระครูคัมภีรญาณ วัดบ้านแคน ตำบลดอนมดแดง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยมีญาท่านทา หอมสมบัติ เป็นผู้สอนข้อวัตรปฎิบัติในเบื้องต้น ต่อมา ญาท่านทา หอมสมบัติ ได้นำตัวไปฝากเป็นศิษย์ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติเพิ่มเติมจาก พระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นนฺตโร) วัดทุ่งศรีเมือง พระเถระผู้บูรณะพระธาตุพนม และ ผู้สืบต่อปฏิปทาข้อวัตรปฏิบัติจากครูบาอาจารย์สายพระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ สมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พระ มงคลธรรมวัฒน์ อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ โดยมีพระครูคัมภีรญาณ วัดบ้านแคน ตำบลดอนมดแดง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดี กนฺตสีโล วัดดงบังเหนือ ตำบล ดอนมดแดง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการกุ ปญฺญาวโร วัดยางวังไฮ ตำบลดอนมดแดง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ จตฺตสลฺโล ” แปลว่า “ ผู้ถอนลูกศร คือ กิเลสเครื่องผูกรัดได้แล้ว ”

เมื่อ พระมงคลธรรมวัฒน์ ยังเป็นสามเณร พระครูวิโรจน์รัตโนบล ผู้เป็นอาจารย์ชราภาพมากแล้ว แม้ชราภาพเช่นนั้น ท่านก็ยังมีเมตตาออกมาที่บ้านปากน้ำอยู่เป็นประจำ จวบจนวาระสุดท้ายแห่งการมรณภาพ ท่านก็ยังมีเมตตาให้ลูกศิษย์นำขึ้นแคร่หามออกมาโปรดลูกหลาน ทำพิธีสะกดสิ่งไม่ดี ให้มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง ด้วยท่านมีความผูกพันกับหมู่บ้านแห่งนี้มาช้านาน มีลูกศิษย์อยู่ที่นี่มาก เนื่องจากสมัยที่ไปบูรณะพระธาตุพนม มีชาวบ้านปากน้ำบวชเป็นศิษย์ศึกษาอยู่กับท่านมาก และได้ติดตามท่านไป บูรณะพระธาตุพนม พระครูวิโรจน์รัตนโนบล จึงถือวัดนี้เป็นวัดของลูกศิษย์

พระมงคลธรรมวัฒน์ ( หลวงตาจันทร์ ) และ หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต ทั้งสองท่านเคยเป็นศิษย์สามเณรอุปฎฐาก พระครูวิโรจน์รัตโนบล หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง เมื่อคราวเป็นบรรพชาเป็นสามเณร

ภายหลังเมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว พระมงคลธรรมวัฒน์ ได้ไปพำนักอยู่วัดปทุมมาลัย กับพระเมธีรัตโนบล เจ้าคุณอาจารย์ เพื่อศึกษาเล่าเรียน จนสามารถสอบได้ประโยคครูพิเศษมูล จังหวัดอุบลราชธานี. หลังจากศึกษาเล่าเรียน มีความรู้พอสมควรแล้ว ประจวบกับวัดปากน้ำว่างเจ้าอาวาสลง ท่านจึงตัดสินใจกลับบ้านเกิด เริ่มพัฒนาชุมชนในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านการศึกษา ถนนหนทาง และการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะด้านการศึกษา ท่านได้ทำให้ทหารอเมริกาเกิดศรัทธาและสร้างโรงเรียนประจำหมู่บ้าน ผลักดันให้เกิดโรงเรียนโรงนาและธนาคารข้าวขึ้นในชุมชน จนต่อมา ได้รับรางวัลยกย่องให้เป็นบุคคลดีเด่น ผู้ทุ่มเทให้กับการพัฒนาท้องถิ่นตนเองอย่างยิ่ง จากการเสนอต่อรัฐบาลไทย ของทหารสหรัฐอเมริกา สมัยนั้น

ในช่วงที่ ทหารสหรัฐอเมริกา กับทหารฝ่ายญี่ปุ่น กำลังขับเคี่ยวกันอย่างหนัก ในมหาสงครามเอเชียบูรพา เครื่องบินสหรัฐอเมริกาได้มาตกบริเวณหมู่บ้านปากน้ำ โดยไม่ทราบสาเหตุ จึงเป็นเหตุให้หมู่บ้านแห่งนี้กลายเป็นเขตที่ทหารสหรัฐอเมริกาต้องคอยเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว เครื่องบินของกองทัพสหรัฐอเมริกาก็ออกบินลาดตระเวนเป็นประจำ คืนวันหนึ่ง ขณะทหารนำเครื่องบินออกบินลาดตระเวนผ่านมาถึงบริเวณ วัดป่าพิฆเณศวร์  (วัดป่าบ้านบาก ดงพระคเณศ ทางลงหาดบุ่งสระพัง ) ซึ่งเป็นวัดร้างริมฝั่งแม่น้ำมูล ก็เห็นลำแสงจากป่าบริเวณดังกล่าว พุ่งตรงเข้าใส่เครื่องบิน ทำให้ทหารสหรัฐอเมริกาคาดการณ์ว่า บริเวณนั้นอาจมีข้าศึกหลบซ่อนอยู่

ทันทีที่คำรายงานผ่านจากเครื่องบินบนท้องฟ้าส่งตรงไปยังฐานทัพ หน่วยเคลื่อนที่เร็วของกองกำลังทหารอเมริกา ก็รุกคืบเข้าผืนป่าแห่งนั้นอย่างเงียบกริบทันที ผืนป่าถูกปิดล้อม หมู่บ้านถูกเข้าตรวจ แต่ก็ไร้วี่แววของสิ่งผิดปกติใดๆ ทำให้ทหารสหรัฐอเมริกาแปลกประหลาดใจเป็นอย่างมาก จนกลายเป็นเรื่องเล่าขานกันทั่วฐานทัพ หมู่บ้านแห่งนี้จึงเป็นที่รู้จักของเจ้าหน้าที่ทางบ้านเมือง ตลอดจนทหารสหรัฐอเมริกา สมัยนั้น ต่อมา ทหารสหรัฐอเมริกา ได้รับฟังเรื่องราวต่างๆ จากพระมงคลธรรมวัฒน์ ถึงความน่าอัศจรรย์ของป่าแห่งนี้ ว่า มักจะเกิดลำแสงประหลาดพุ่งขึ้น ในวันพระ ๑๕ ค่ำ แม้ทหารสหรัฐอเมริกาก็ประจักษ์ด้วยตนเอง จนเกิดศรัทธา นำไปสู่การสร้างอุโบสถขึ้น

พระมงคลธรรมวัฒน์ เล่าว่า “ สิ่งที่เป็นความหวังซึ่งมีอยู่ตลอดมา คือ ต้องการสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้นใช้แทนหลังเดิมซึ่ง ทรุดโทรมมากแล้ว อยากสร้างอุโบสถติดลวดลายลงรักปิดทองอย่างวัดใน กรุงเทพฯ ”ก่อนหน้านี้ท่านเคยลงไปกรุงเทพฯ หลายครั้ง ไปฝากลูกศิษย์เรียนหนังสือบ้าง ไปเยี่ยมลูกศิษย์บ้าง และชอบเดินดูอุโบสถตามวัดใหญ่ๆ ซึ่งล้วนแต่วิจิตรงดงาม และวัดที่ท่านประทับใจมาก คือ วัดพระแก้ว แล้วก็ตั้งความหวังว่า จะต้องสร้างโบสถ์อย่างนี้ให้ได้ แต่ปัญหาที่สำคัญ คือ การหาทุนสร้างอุโบสถ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ไกลเกินความเป็นจริง

สิ่งที่ท่านคิดว่าเป็นเรื่องยากกลับกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้นมา เพราะก่อนที่ทหารสหรัฐอเมริกาจะถอนกำลังออกจาก ฐานทัพอุบลราชธานี ได้ให้ความช่วยเหลือท่านในการพัฒนาวัด พระมงคลธรรมวัฒน์จึงตัดสินใจสร้างอุโบสถ ซึ่งเป็นสิ่งที่ท่านปรารถนา และเป็นสิ่งที่สร้างได้ยากมากในต่างจังหวัด และแล้วเหล็ก อิฐ หิน ปูน ทราย อันเป็นอุปกรณ์ในการสร้างโบสถ์ก็ถูกลำเลียงเข้าสู่หมู่บ้านแห่งนี้อีกครั้ง ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจการสร้างโรงเรียน และเป็นภารกิจสุดท้ายในฐานทัพอุบลราชธานี ของกองทัพสหรัฐอเมริกา

โครงสร้างอุโบสถสำเร็จเป็นรูปร่างในระยะเวลาอันสั้น พร้อมกับการถอนตัวออกจากฐานบินอุบลราชธานี ของทหารกองทัพสหรัฐอเมริกา แต่ความหวังของพระมงคลธรรมวัฒน์ยังไม่สัมฤทธิ์ผล ตราบใดที่อุโบสถหลังนี้ ยังไม่ได้ติดลวดลายและลงรักปิดทองอย่างวัดในกรุงเทพฯ ตามความปรารถนา ชาวบ้านต่างเรียกร้องให้มีพิธีสมโภชอุโบสถ แต่ท่านก็ปล่อยอุโบสถหลังนี้ค้างไว้ เฝ้ารอความหวังครั้งใหม่อยู่อย่างเงียบๆ

ตาปะขาวนิมิตให้สร้างอุโบสถต่อ

ในขณะที่อุโบสถหลังเก่าเริ่มผุพังลงตามกาลเวลา จนไม่สามารถซ่อมแซมได้ อุโบสถหลังใหม่ที่ทหารอเมริกันให้ความช่วยเหลือ ในการสร้างก็ยังขาดทุนทรัพย์ ไม่สามารถดำเนินการสร้างต่อให้เสร็จสมบูรณ์ได้ คืนหนึ่ง พระมงคลธรรมวัฒน์นิมิตว่า มีตาปะขาวถือพานดอกไม้ธูปเทียนเข้ามานั่งคุกเข่าตรงหน้าท่าน ขอให้ท่านสร้างโบสถ์ต่อให้เสร็จ

ในนิมิตท่านได้แย้งว่า ท่านไม่สามารถที่จะสร้างโบสถ์ให้เสร็จได้ในขณะนี้ เพราะยังไม่มีเงิน ซึ่งต้องใช้ปัจจัยอีกจำนวนมาก ตาปะขาวบอกท่านว่าเป็นหน้าที่ของเขาที่จะช่วยเหลือ แต่ขอให้ท่านรับปากว่าจะสร้างโบสถ์ให้แล้วเสร็จ พระมงคลธรรมวัฒน์บอกว่า ท่านทำให้ได้ แต่จะให้ทำอย่างไร ตาปะขาวจึงบอกให้ไปขุดเอาของมีค่าที่วัดป่าพิฆเณศวร์ ขึ้นมาเป็นทุนในการสร้างโบสถ์

เช้าวันนั้น พระมงคลธรรมวัฒน์ตื่นนอนด้วยความรู้สึกชุ่มชื่นเบิกบานใจ และเต็มไปด้วยความหวังอันงดงามว่า น่าจะเป็นนิมิตดีที่บ่งบอกว่า ท่านจะสามารถสร้างอุโบสถหลังนี้ให้แล้วเสร็จได้ ตามความประสงค์ แม้จะยังมองไม่เห็นหนทางว่าจะสำเร็จด้วยวิธีใด

ท่านพยายามลำดับเหตุการณ์จากวันที่คิดจะสร้างอาคารเรียน ให้กับโรงเรียนในหมู่บ้าน ตลอดจนสร้างอุโบสถหลังใหม่ในวัด สิ่งเหล่านี้ก็สำเร็จได้โดยไม่คาดฝัน เนื่องจากมีเหตุการณ์บางอย่างชักนำให้เกิดสิ่งแปลกประหลาดขึ้น จนสามารถสร้างอาคารเรียน และอุโบสถหลังใหม่ขึ้นโดยที่แทบจะไม่ได้ใช้เงินเลย

พระมงคลธรรมวัฒน์เก็บนิมิตและความครุ่นคิดต่างๆ ไว้ในใจอย่างเงียบๆ วันหนึ่ง ท่านตัดสินใจไปพบครูบาอาจารย์ที่เคารพนับถือ และได้กราบเรียนให้ทราบถึงนิมิตเช่นนี้ ครูบาอาจารย์ตรวจดูก็เห็นจริงตามนิมิต พระมงคลธรรมวัฒน์ตั้งเครื่องสักการบูชาน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย คุณครูบาอาจารย์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย อธิษฐานจิตด้วยความสุจริตใจว่า

“ หากสิ่งของมีจริงตามนิมิตก็จะนำขึ้นมาเฉพาะเท่าที่ใช้ใน การดำเนินการสร้างอุโบสถให้แล้วเสร็จเท่านั้น มากกว่านี้ไม่ต้องการ ”

และ พระมงคลธรรมวัฒน์ ก็ได้สิ่งของขึ้นมาตรงตามนิมิตทุกประการ นอกจากสิ่งของมีค่าแล้ว ก็ยังพบข้าวของเครื่องใช้อีกหลายอย่าง พร้อมทั้งกระดูกของคนที่ถูกฝังอยู่ในผืนดินนั้นด้วย พระมงคลธรรมวัฒน์ได้สร้างพระพุทธรูปและนำสิ่งของบางอย่างบรรจุไว้ใต้ฐานพระพุทธรูป และได้สร้างเจดีย์สำหรับบรรจุกระดูกดังกล่าวไว้ที่วัดป่าพิฆเณศวร์นั้น พร้อมทั้งทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ตามประเพณีนิยม ท่านสรุปเหตุการณ์ในช่วงนี้ว่า

“ ท่านมาเข้าฝัน พอ หลวงพ่อ เข้าวัดป่า ทุกอย่างแจ่มแจ้งหมดเลย หลวงพ่อชี้ให้ขุดตรงไหน ขุดลงไปก็เจอของตรงนั้น แสดงว่าท่านอยากให้ ตรงไหนเขาไม่ให้แตะต้องไม่ได้เลยโดยเด็ดขาด ” ในที่สุด พระมงคลธรรมวัฒน์ก็ได้ดำเนินการสร้างอุโบสถต่อ และสามารถสร้างอุโบสถลงรักปิดทองได้แล้วเสร็จดังความตั้งใจ

นิมิตถึงหลวงพ่อเงิน

ต่อมา พระมงคลธรรมวัฒน์ ได้นิมิตอีกครั้งว่า ตาปะขาวคนเดิมมาหาท่าน และบอกว่าที่วัดป่าพิฆเณศวร์ยังมีสมบัติอยู่มาก แต่ไม่สามารถที่จะนำขึ้นมาได้ พร้อมกับระบุตำแหน่งให้ท่านทราบ ของบางอย่างเจ้าของเขาไม่ให้ ของบางอย่าง นำขึ้นมาก็จะเกิดอันตรายแก่ผู้ครอบครอง แต่ยังมีของสำคัญอยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ควรที่จะอยู่ใต้แผ่นดิน อยากให้ไปเอาขึ้นมาเก็บรักษาไว้ เพื่อเป็นสมบัติของพระศาสนาให้ลูกหลานได้เคารพสักการบูชา ของสิ่งนั้น คือ “ พระพุทธรูปเงิน ” จะเกิดพายุ ต้นตาลภายในวัดป่าจะหัก ปลายตาลหักไปทางทิศไหน ก็ให้ไปขุดตรงที่ปลายตาลล้มลง ครั้นแล้ว คนในชุดขาวก็หายไป

เมื่อตื่นเช้าขึ้นมา พระมงคลธรรมวัฒน์เกิดความรู้สึกเป็นสุขเอิบอิ่มใจอย่างประหลาด ครั้นต่อมาก็เกิดเหตุการณ์ดังนิมิต ชาวบ้านได้เล่าถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้นว่า “ ปกติต้นตาลเป็นต้นไม้ที่มีความแข็งแรง แม้ถูกลมพัดก็ยากที่จะหักโค่น แต่วันนั้นต้นตาล ในวัดร้างเมื่อถูกลมก็หักโค่นลงผิดปกติวิสัย สิ่งที่แปลกและน่าอัศจรรย์ คือ แทนที่ต้นตาลจะล้มไปตามแรงลม แต่ต้นตาลกลับทวนกระแสลม ล้มลงทางทิศเหนือ ”พระมงคลธรรมวัฒน์ ได้นำชาวบ้านไปที่วัดป่า แล้วจุดธูปเทียน เครื่องสักการบูชาคุณพระรัตนตรัย คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ พร้อมกับอธิษฐานจิตอย่างแน่วแน่และมั่นคงว่า

“ หากเป็นจริงดังนิมิต ท่านก็จะรักษาพระพุทธรูปไว้ให้เป็นที่เคารพสักการบูชาของลูกหลานและพุทธศาสนิกชนสืบไป ขออย่าได้มีอุปสรรคใดๆ มาขัดขวาง ”

ครั้นแล้วก็ขุดตรงที่ปลายต้นตาลหักลงตามนิมิต เมื่อขุดลงไปลึกประมาณชั่วคนยืน ก็ได้พบ แผ่นศิลา ๔ เหลี่ยม ถูกจัดไว้ในลักษณะหีบ มีความสวยงาม อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ทุกประการ ถูกฝังอยู่ใต้ดิน ลักษณะของการฝังผู้ฝังมีการเตรียมการไว้อย่างดี เมื่อเปิดฝาหีบออก ก็ปรากฏว่า ภายในหีบมี ทรายเนื้อละเอียดขาวใสบริสุทธิ์เต็มหีบ เมื่อทรายต้องแสงอาทิตย์ก็ส่องประกายวาว ระยิบระยับ เมื่อนำทรายออกมา ก็เห็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเนื้อเงินบริสุทธิ์ประดิษฐานอยู่ภายในหีบศิลานั้น ดังนิมิต พระมงคลธรรมวัฒน์ บอกว่า “ เสียดายที่หลวงพ่อไม่ได้เก็บทรายนั้นไว้

พระพุทธรูปนั้นคงพุทธลักษณะที่มีความงดงาม แม้จะถูกฝังรักษาไว้ใต้พื้นดินก็ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ผิวเงินยังสวยงามโดยไม่ได้รับการกระทบกระเทือนใดๆ พระมงคลธรรมวัฒน์อัญเชิญหลวงพ่อเงินประดิษฐานไว้ แล้วน้อมลงกราบด้วยปีติและศรัทธาที่ตั้งมั่น จากนั้น จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดปากน้ำ และถวายนามว่า “ หลวงพ่อเงิน

เพราะความผูกพันที่มีต่อบ้านเกิด และต้องการให้ลูกหลานได้ศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน พระมงคลธรรมวัฒน์ได้สร้างพิพิธภัณฑ์ประจำหมู่บ้านขึ้นมาหลังหนึ่ง ให้ชื่อว่า “ พิพิธภัณฑ์บ้านปากน้ำ วิถีชีวิตชาวบ้านลุ่มน้ำบุ่งสระพัง ” เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บรวบรวมโบราณวัตถุ และประวัติความเป็นมาของชุมชนแห่งนี้ จะได้เป็นแหล่งศึกษาของประชาชนต่อไป

พระมงคลธรรมวัฒน์ (บุญจันทร์ จตฺตสลฺโล) วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง อุบลราชธานี

วัตถุมงคล

  • พระสมเด็จพระผงวรมันตร์
  • สมเด็จพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก
  • พระสมเด็จพระผงชัยวรมันตร์ ปิดทอง
  • พระผงชัยวรมันตร์
  • พระปิดตา ผงชัยวรมันตร์
  • นางกวักเรียกทรัพย์ ผงชัยวรมันตร์
  • นางกวักเรียกทรัพย์ ผงชัยวรมันตร์
  • ชุดพระผงชัยวรมันตร์
  • พระครูวิโรจน์ รุ่นสร้างโบสถ์
  • พระครูวิโรจน์ ฉลองโบสถ์
  • พระพิฆเณศวร์ ปี 29
  • เหรียญพระครูพัฒนกิจวิมล รุ่นแรก ปี 41
  • พระกริ่งองค์ตื้อ
  • พระยอดธงองค์ตื้อ
  • พระปิดตามหาอุตม์ เนื้อทองผสม
  • พระปิดตามหาอุตม์ เนื้อทองผสม
  • เหรียญ ๗๒ ปี ๓ พิมพ์
  • เหรียญ ๘๐ ปี
  • เหรียญ ๘๐ ปี (หลังหลวงพ่อเงิน)
  • เหรียญเจ้าคุณรุ่นแรก
  • ผ้ายันต์พระพิฆเณศวร์
  • ตะกรุดโลหะผงชัยวรมันตร์
  • บักหลอด
  • ผ้ายันต์ปราบเวียงจันทน์
  • พระพิฆเณศวร์เนื้อผง
  • หลวงพ่อเงิน ผงเสน่ห์จันทร์ขาว
  • หลวงพ่อเงิน เนื้อดินวัดป่าพิฆเณศวร์
  • หลวงพ่อเงิน ผงเสน่ห์จันทร์แดง
  • พระพิฆเณศวร์ ผงเสน่ห์จันทร์ขาว
  • พระพิฆเณศวร์ เนื้อดินวัดป่าพิฆเณศวร์
  • พระพิฆเณศวร์ ผงเสน่ห์จันทร์แดง
  • ชุดหลวงพ่อเงิน ปัดทอง พิมพ์ใหญ่
  • ชุดหลวงพ่อเงิน ปัดทอง พิมพ์เล็ก
  • รวมชุดหลวงพ่อเงิน ปิดทอง
  • เนื้อดินวัดป่าพิฆเณศวร์ ปัดทอง
  • เสน่ห์จันทร์ ปัดทอง
  • เสน่ห์จันทร์ขาว ปัดทอง

หรียญพระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด) รุ่นที่ระลึกสร้างอุโบสถ วัดปากน้ำ บุ่งสระพง อุบลราชธานีเหรียญพระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด) รุ่นที่ระลึกสร้างอุโบสถ วัดปากน้ำ บุ่งสระพง อุบลราชธานี

 

เหรียญพระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด) รุ่นที่ระลึกสร้างอุโบสถ วัดปากน้ำ บุ่งสระพง อุบลราชธานี ปี 2517 เหรียญพระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด) รุ่นที่ระลึกสร้างอุโบสถ วัดปากน้ำ บุ่งสระพง อุบลราชธานี ปี 2517

พระครูพัฒนกิจวิมล รุ่นแรก พระครูพัฒนกิจวิมล รุ่นแรก

พระมงคลธรรมวัฒน์ (บุญจันทร์ จตฺตสลฺโล)

เหรียญออกโดยพระมงคลธรรมวัฒน์ (บุญจันทร์ จตฺตสลฺโล) ปี 2529เหรียญออกโดยพระมงคลธรรมวัฒน์ (บุญจันทร์ จตฺตสลฺโล) ปี 2529

วัตถุมงคล พระมงคลธรรมวัฒน์ ( หลวงตาจันทร์ )

นอกจากท่านจะปลุกเสก โดยท่านเองแล้ว ท่านก็จะนำไปให้ พระเกจิอาจารย์ ที่ท่านเคารพ นับถือ อฐิษฐานจิต ปลุกเสก ร่วมด้วย เช่น

  • หลวงปู่สวน ฉันทโร ( พระครูอาทรพัฒนคุณ ) วัดนาอุดม ต.คำหว้า อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี
  • หลวงตาพวง สุขินทริโย (พระเทพสังวรญาณ) วัดศรีธรรมาราม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ยโสธร

วัตถุมงคล ของ วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง หลังจาก ท่านมรณะภาพ ไปแล้ว พระเกจิอาจารย์ ที่ปลุกเสก หลัก ๆ คือ

  • หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต (พระครูพิบูลนวกิจ) วัดกุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี

หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต (พระครูพิบูลนวกิจ) วัดกุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี

หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต และ พระมงคลธรรมวัฒน์ ทั้งสองท่านเคยเป็น ศิษย์สามเณรอุปฎฐาก พระครูวิโรจน์รัตโนบล หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง จบวนวาระสุดท้ายที่ หลวงปู่รอด ท่านได้มรณะภาพ

พระมงคลธรรมวัฒน์ ” บุญจันทร์ จัตตสัลโล “


คลิปเสียง หลวงพ่อ ให้พระลูกศิษย์

คลิ๊กฟัง คลิปเสียง หลวงพ่อ ท่านอวยพร ให้ ศิษยานุศิษย์ 1 ปี ก่อนท่าน มรณะภาพ + เพลงปาเจรา บูชาครู.wma”
วีดีโอ งานพระราชทานเพลิงศพ พระมงคลธรรมวัฒน์ วันที่ 7-8-9 มีนาคม 2551


พระบูรพาจารย์ชุมชน บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง

เนื้อหาบางส่วนจากหนังสือ : ประทีปแห่งแม่น้ำมูล
ญาณวชิระ /เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

เฟสบุ๊ค วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง : https://www.facebook.com/watpaknumubon/